วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การสร้างความเข้าใจ

     เราสร้างความเข้าใจในโลกที่เราอาศัยอยู่  และแสวงหาเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจประสบการณ์ การทำเช่นนั้นก็เป็นธรรมชาติของคนอย่างหนึ่ง ฟังดูเหมือนเป็นข้อเสนอที่ง่ายๆ  ประสบการณ์ของเราทำให้เราสรุปเรื่องราวที่เกิดชึ้น ที่ประสบมา คล้ายกับเป็นกสามัญสำนึก  เช่นสรุปได้ว่าคนที่รู้จักคนไหนเป็นอย่างไร อะไรเป็นอันตราย ไม่เข้าใกล้ไฟที่ร้อนเป็นต้น  นอกจากนี้ยังสรุปเกี่ยวกับธรรมชาติของวัตถุ และพฤติกรรมบางอย่าง เช่นเบา หนัก ลอย จม ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของเรื่องร่าว ปรากฏการณ์นับหมื่นนับแสนของความเข้าใจ บางเรื่องซับซ้อนกว่าเรื่องอื่นที่เราสร้างความเข้าใจผ่านทางการสะท้อนความคิดจากการปฏิสัมพันธ์กับวัตถึงสิ่งของและความคิด
      เราแต่ละคนทำความเข้าใจโลกของเราโดยการสังเคราะห์ประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมที่เข้าใจ บ่อยครั้งที่เราประสบกับวัตถุสิ่งของ ความคิด ความสัมพันธ์หรือประสบการณ์ที่ไม่ช่วยทำให้เราเข้าใจ เมื่อเราประสบกับข้อมูล หรือการรับรู้ที่แตกต่างไปจากเดิมในตอนแรก เราตีความสิ่งที่เราเห็นเพื่อ่แปลงเปลี่ยนไปยังชุดของหลักยึดในปัจจุบันเพื่ออธิบายและจัดลำดับโลกที่เกี่ยวข้อง  หรือเราสร้างชุดของกฏใหม่ที่ดีกว่าสำหรับอธิบายสิ่งเรารับเข้ามา ดังที่ปรากฏ ไม่ว่าทางใดการรับรู้ของเราและหลักยึดจะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะปรับความเข้าใจของเรา

      พิจารณาตัวอย่าง สำหรับนักเรียนที่มีประสบการณ์การอาบน้ำในอ่างอาบน้ำ และสระว่ายน้ำ  เมื่อนักเรียนคนนี้มีโอกาสไปเจอคลื่นทะเล เมื่อใด้ลองชิมรสน้ำทะเลแตกต่างไปจากรสชาติของน้ำจากประสบการณ์เดิม นักเรียนประสบกับประสบการณ์เรื่องน้ำที่แตกต่างกันที่ไม่ได้ปรับไปยังความเข้าใจที่มีอยู่เดิม นักเรียนจำต้องสร้างความเข้าใจที่แตกตางของน้ำอย่างกระตือรือร้นเพื่อปรับประสบการณ์ใหม่  หรือว่าจะไม่สนใจสารสนเทศที่ได้รับใหม่ และยังคงมีความเข้าใจอยู่แบบเดิม ในเรื่องนี้ตามการศึกษาของเปียอาเจ (Piaget) และอินเฮลเดอร์(Inhelder) (1971) เกิดขึ้นเพราะความรู้ไม่ได้มาจากวัตถุ และความคิดความรู้สึก แต่มาจากการเป็นหนึ่งเดียวของทั้งสองอย่างดังกล่าว  ในสถานะการณ์นี้การปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับน้ำ และนักเรียนได้สะท้อนความคิดจากการปฏิสัมพันธ์เหล่านั้นเป็นไปได้มากที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในแนวทางที่นักเรียนคิดเกี่ยวกับน้ำ   ฟอสนอส(Fosnot) ได้พูดถึงว่า "การเรียนรู้ไม่ใช่การค้นพบมากขึ้น แต่เป็นการตีความผ่านทางแบบแผนโครงสร้างที่แตกต่าง
      การเป็นมนุษย์ เรามีประสบการณ์ต่างๆของโลก เช่นที่ชายหาด ด้วยช่วงเวลาการพัฒนาการที่แตกต่าง และดังนั้นจึงทำให้สามารถสร้างความเข้าใจที่ซับซ้อนได้มากขึ้น  เด็กนักเรียนตามที่ยกตัวอย่างมาก็รู้ได้ว่าน้ำรสชาตไม่ดีนัก แต่เมื่อนักเรียนคนนี้โตขึ้น นักเรียนจะทราบว่ามีรสชาดเค็ม เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่นก็เข้าใจถึงมโนทัศน์ของความเค็ม  และบางช่วงของการพัฒนาการ นักเรียนคนเดิมนี้อาจตรวจสอบว่าสารละลายเกลือสามารถนำไฟฟ้า  หรือกำลังของน้ำขึ้นน้ำลงสามารถนำมาเป็นแหล่งพลังงานที่นำมาใช้ได้ แต่ละอย่างของความเข้าใจเหล่านี้ ส่งผลในการเพิ่มความซับซ้อนในการคิดของนักเรียน  ในแต่ละการสร้างความเข้าใจจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางสติปัญญาในการคิดที่จะปรับข้อมูลและการรับรู้ที่แตกต่างและเป็นทุนของประสบการณ์ในเวลานั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประกาศ

เว็บบล็อกนี้เผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ ความรู้ทางการศึกษาด้านต่างๆ ในรูปของสื่อดิจิทัล ที่อาจเป็นหนังสือสิ่งพิมพ์ สื่อเรียนรู้มัลติมีเดีย โดยเลือกมาจากแหน่งต่างๆ ที่เผยแพร่ รวมทั้งที่จัดทำขึ้นเองและจากผู้ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา คลิกที่ภาพหรือลิงค์ ในภาพที่ลงไว้ในแต่ละบล็อกก็สามารถเข้าสู่เนื้อหาหรือเรียนรู้ได้