วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กฏแห่งกรรม

เมื่อเทียบเคียงกฏแห่งกรรมกับทางวิทยาศาสตร์ ที่ใกล้เคียงมากที่สุดและเห็นได้เป็นรูปธรรม  นั่นก็คือกฏข้อที่สามของนิวตัน  ที่มาจากกฏการเคลื่อนที่ของวัตถุสามข้อ ข้อแรกคือ วัตถุที่อยู่นิ่ง ก็ยังคงอยู่นิ่งต่อไป วัตถุที่มีความเร็วคงที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ต่อไป นอกจากว่ามีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุนั้น กฏข้อที่สองวัตถุมีแรงมากระทำเท่ากับมวลของว้ตถุคูณกับความเร่งของวัตถุนั้น หรือวัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วทำให้วัตถุนั้นมีความเร่งนั่นเอง ส่วนกฏข้อที่สามแรงที่กระทำต่อวัตถุจะเท่ากับแรงวัตถุออกแรงตอบโต้ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีที่่เราใช้มือตีโต๊ะโต๊๋ะก็ออกแรงกระทำตอบโต้ด้วยขนาดที่เท่ากัน หรือเรียกแรงที่มือกระทำต่อโต๊ะว่าแรงกิริยา ส่วนแรงที่โต๊ะกระทำต่อมือเรียกว่าแรงปฏิกิริยานั่นเอง

เมื่อเปรียบเทียบกับกฏแห่งกรรม ที่กล่าวง่ายๆ ว่าทำอะไรก็ได้อย่างนั้น เหมือนกับที่พูดว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพื่อให้คนเข้าใจได้ง่ายเป็นรูปธรรม แต่ในการตีความทางธรรม นั้นการทำดีไม่ได้หวังว่าจะได้อะไรดีๆ กลับมาเท่าเทียมกันแต่ที่ได้กลับมาคือได้ความสบายใจ สุขใจที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่นเดียวกับทำชั่วไม่ได้มองว่าจะได้ชั่วหรือสิ่งที่เลวร้ายกลับมา แต่กลายเป็นความทุกข์ใจ ความโลภ ความหลงเสียมากกว่า กฏแห่งกรรมตามกฏของนิวตัน นั้นเป็นเหมือนกฏแห่งกรรมที่เป็นวัตถุธรรม  แต่กฏแห่งกรรมที่เป็นนามธรรม มักโยงไปถึงเรื่องของหลักธรรมศาสนาแห่งจิตใจเสียมากกว่า  แต่โดยทั่วไปมักจะมีนัยยะทั้งสองอย่างรวมกันไป

ในกรณีที่ใครประสบชตากรรมในทางเลวร้าย ทำให้ยากลำบากแสนเข็นก็คิดตามกฏแห่งกรรมว่าบุคคลนั้น อาจเคยได้รายทำให้ผู้อื่นให้ได้ยากลำบากแสนเข็นมาก่อน จะมาแสดงให้เห็น  ซึ่งการคิดเช่นนี้โดยไม่พิจรณาหาเหตุผลที่ต้องใช้ปัญหาก็ไม่ก็ให้เกิดประโยชน์ใด  และอาจจะประสบปัญหาในทางเลวร้ายมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประกาศ

เว็บบล็อกนี้เผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ ความรู้ทางการศึกษาด้านต่างๆ ในรูปของสื่อดิจิทัล ที่อาจเป็นหนังสือสิ่งพิมพ์ สื่อเรียนรู้มัลติมีเดีย โดยเลือกมาจากแหน่งต่างๆ ที่เผยแพร่ รวมทั้งที่จัดทำขึ้นเองและจากผู้ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา คลิกที่ภาพหรือลิงค์ ในภาพที่ลงไว้ในแต่ละบล็อกก็สามารถเข้าสู่เนื้อหาหรือเรียนรู้ได้