วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2564

สติปัฏฐาน 4

 สติปัฏฐาน 4 จากหนังสือสัมมาทิฏฐิ  โดยสมเด็จพระญาณสังวร


สติปัฏฐาน 4 คือการตั้งสติความละลึกได้ไว้ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม

ตั้งสติพิจารณากาย ว่าด้วยลมหายใจเข้าออก อิริยาบทต่างๆ อาการต่างๆ ธาตุ4 ป้าช้า และศพ

ตั้งสติพิจารณาเวทนา คือ กำหนดรู้ ความสุข ความทุกข์ และความเป็นกลาง

ตั้งสติพิจารณาจิต คือกำหนดดูจิตใจ ว่ามีราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่

ตั้งสติพิจารณาธรรม คือกำหนดดูธรรมะทั้งหลายที่ยังเกิดขึ้นในจิต คือ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 2 โพชญงค์ 7 และ อริยสัจ 4

ทางปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 คือพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เกิดปัญญา และปล่อยวาง





วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กฏแห่งกรรม

เมื่อเทียบเคียงกฏแห่งกรรมกับทางวิทยาศาสตร์ ที่ใกล้เคียงมากที่สุดและเห็นได้เป็นรูปธรรม  นั่นก็คือกฏข้อที่สามของนิวตัน  ที่มาจากกฏการเคลื่อนที่ของวัตถุสามข้อ ข้อแรกคือ วัตถุที่อยู่นิ่ง ก็ยังคงอยู่นิ่งต่อไป วัตถุที่มีความเร็วคงที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ต่อไป นอกจากว่ามีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุนั้น กฏข้อที่สองวัตถุมีแรงมากระทำเท่ากับมวลของว้ตถุคูณกับความเร่งของวัตถุนั้น หรือวัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วทำให้วัตถุนั้นมีความเร่งนั่นเอง ส่วนกฏข้อที่สามแรงที่กระทำต่อวัตถุจะเท่ากับแรงวัตถุออกแรงตอบโต้ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีที่่เราใช้มือตีโต๊ะโต๊๋ะก็ออกแรงกระทำตอบโต้ด้วยขนาดที่เท่ากัน หรือเรียกแรงที่มือกระทำต่อโต๊ะว่าแรงกิริยา ส่วนแรงที่โต๊ะกระทำต่อมือเรียกว่าแรงปฏิกิริยานั่นเอง

เมื่อเปรียบเทียบกับกฏแห่งกรรม ที่กล่าวง่ายๆ ว่าทำอะไรก็ได้อย่างนั้น เหมือนกับที่พูดว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพื่อให้คนเข้าใจได้ง่ายเป็นรูปธรรม แต่ในการตีความทางธรรม นั้นการทำดีไม่ได้หวังว่าจะได้อะไรดีๆ กลับมาเท่าเทียมกันแต่ที่ได้กลับมาคือได้ความสบายใจ สุขใจที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่นเดียวกับทำชั่วไม่ได้มองว่าจะได้ชั่วหรือสิ่งที่เลวร้ายกลับมา แต่กลายเป็นความทุกข์ใจ ความโลภ ความหลงเสียมากกว่า กฏแห่งกรรมตามกฏของนิวตัน นั้นเป็นเหมือนกฏแห่งกรรมที่เป็นวัตถุธรรม  แต่กฏแห่งกรรมที่เป็นนามธรรม มักโยงไปถึงเรื่องของหลักธรรมศาสนาแห่งจิตใจเสียมากกว่า  แต่โดยทั่วไปมักจะมีนัยยะทั้งสองอย่างรวมกันไป

ในกรณีที่ใครประสบชตากรรมในทางเลวร้าย ทำให้ยากลำบากแสนเข็นก็คิดตามกฏแห่งกรรมว่าบุคคลนั้น อาจเคยได้รายทำให้ผู้อื่นให้ได้ยากลำบากแสนเข็นมาก่อน จะมาแสดงให้เห็น  ซึ่งการคิดเช่นนี้โดยไม่พิจรณาหาเหตุผลที่ต้องใช้ปัญหาก็ไม่ก็ให้เกิดประโยชน์ใด  และอาจจะประสบปัญหาในทางเลวร้ายมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564

อันเนื่องมาจากโควิด 19

 การมาของเชื้อไวรัสนี้เกือบสองปีแล้ว ที่โลกเราก็ยังเผชิญกับพิษภัยของไวรัสนี้ ทั้งทางตรงที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยไข้และ ทั้งมีอาการและไม่มีอาการ แต่ที่อาการหนักถึงกับเสียชีวิตประมาณ 2% จากยอดของผู้ติดเชื้อ ส่วนความเสียหายทางอ้อมมีมากกว่ามาก อันเนื่องมากจากพิษเศรษฐกิจที่ทำให้คนว่างงาน และไม่สามารถเปิดดำเนินการตามปกติ คาดกันว่าคนเสียชีวิตประสาเหตุทางเศรษฐกิจน่าจะมากกว่าเสียอีก ไม่จำกัดเฉพาะประเทศยากจน ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายก็เช่นกันแต่อาจจะไม่มีใครเก็บสถิติไว้เป็นทางการ มีแต่เพียงการคาดการณ์

วิกฤตการณ์ครั้งนี้ตอนแรกก็คิดว่าประเทศยากจนน่าจะเกิดการระบาดหนักกว่าประเทศที่รำรวยกว่า แต่ตามตัวเลขที่มีการรายงานจนถึงปัจจุปันกลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามประเทศที่ว่าพัฒนาแล้วมีอันจะกินทั้งหลายกลับมีการติดเชื้อและเสียชีวิตหนักหน่วงกว่าประเทศยากจนด้อยพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นถือว่ามีระบบสาธารณะสุข การดูแลสุขภาพของประชาชนน่าจะดีกว่า แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องน่าคิดน่าศึกษาว่าเพราะอะไรกันแน่ถึงได้เป็นแบบนี้  ที่คาดเดากันได้ไม่ยากว่าเพราะมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาก มีกิจกรรมมากทำให้ติดเชื้อกันได้ง่าย ดังจะเห็นว่าการล็อกดาวห์ไม่ให้มีการติดต่อถึงกันมากเท่าใดก็สามารถลดการแพร่เชื้อได้มากเท่านั้น  

แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด19 และที่กลายพันธ์ทำให้ติดกันง่ายขึ้น แม้ว่าจะสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ก็ยังมีโอการเผลอเรอติดเชื้อก้นได้ไม่ทางใดก็ทางหนี่ง แม้ว่ารักษาหายแล้วก็ยังอาจกลับมาติดเชื้อใหม่ได้ หรือแม้กระทั่งที่ฉีดวัคซินไปแล้วก็ยังทำให้เกิดการติดเชื้อถ้าภูมคุ้มกันขึ้นไม่มากพอ อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ได้รับวัคซีนแล้วนั้นอาการของโรคจะลดลง การเสียชีวิตก็จะน้อยตามลงไป ทำให้่เชื่อได้ว่ายิ่งฉีดวัคซินให้ครบอย่างน้อย 70% ของประชากร แล้วจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ลงได้  ประเทศต่างๆ จึงเร่งพยามหาวัคซีนมาฉีดให้ประชาชน  ต้องยอมรับว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ดำเนินการพัฒนาวัคซิน โควิด 19 ขึ้นมาได้สำเร็จ แม้ว่าการทดสอบยังไม่ละเอียด แต่ก็นำมาใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน การกระจายวัคซินไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้เตรียมในการจัดหาวัคซินแต่เนิ่นๆ 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะฉีดวัคซินให้ประชาชนเกินจำนวน 70% แล้วก็ตามแต่ก็ยากที่จะขจัดให้หมดเชื้อไปโดยสิ้นเชิง ดังจะเป็นรายงานประเทศที่ฉีดมากที่สุดแล้วก็ยังมีรายงานการติดเชื้ออยู่ไม่มากก็น้อย มีบางประเทศได้ลดมาตรการเข้มงวดหรือผ่อนปรนให้ธุรกิจดำเนินไปได้ บางประเทศถึงขั้นประกาศเลิกใช้หน้ากาก หรือให้ใช้เฉพาะบางที่ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าวัคซินป้องกันได้หรือไม่ หรือว่าต้องระมัดระวังกันต่อไปจนกว่าจะมียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และเมื่อถึงตอนนั้นไวรัสโควิด 19 คงจะเหมือนกันไวรัสไข้หวัดทั่วไป  เมื่อไรจะถึงวันนั้นที่ไม่ต้องฉีดวัคซีน สามารถเดินทางติดต่อสัมพันธ์กันได้ตามปกติ ซึ่งถือได้ว่าเราชนะภัยจากโรคร้ายนี้ หรือว่ามนุษย์อาจไม่มีทางที่จะเอาชนะมันได้ ซึ่งหมายถึงจุดจบของมวลมนุษย์ชาตินั่นเอง

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

โดย Marvin Minsky

"ถ้าคุณเข้าใจบางสิ่งบางอย่างในทางหนึ่งทางใดเป็นการเฉพาะแล้ว คุณจะไม่สามารถเข้าใจในเรื่องนั้นได้หมดเลย ความลับอะไรก็ตามที่มีความหมายต่อเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราได้เชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่นทั้งหมดที่เรารู้ การแทนการเชื่อมโยงที่ดียอมให้เราได้เปลี่ยนแนวคิดที่อยู้ในใจโดยรอบเพื่อมองภาพสิ่งต่างๆจากหลากหลายทัศนะ จนพบว่ามีอยู่อย่างหนึ่งที่ใช่ใช้การได้สำหรับเรา และนั่นคือสิ่งที่เราหมายถึงโดยการคิด"

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562

The Science of Soap Films and Soap Bubbles

หนังสือเกี่ยวกับการเกิดฟิล์มจากสบู่ และ การเกิดฟองจากสบู่

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การสร้างความเข้าใจ

     เราสร้างความเข้าใจในโลกที่เราอาศัยอยู่  และแสวงหาเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจประสบการณ์ การทำเช่นนั้นก็เป็นธรรมชาติของคนอย่างหนึ่ง ฟังดูเหมือนเป็นข้อเสนอที่ง่ายๆ  ประสบการณ์ของเราทำให้เราสรุปเรื่องราวที่เกิดชึ้น ที่ประสบมา คล้ายกับเป็นกสามัญสำนึก  เช่นสรุปได้ว่าคนที่รู้จักคนไหนเป็นอย่างไร อะไรเป็นอันตราย ไม่เข้าใกล้ไฟที่ร้อนเป็นต้น  นอกจากนี้ยังสรุปเกี่ยวกับธรรมชาติของวัตถุ และพฤติกรรมบางอย่าง เช่นเบา หนัก ลอย จม ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของเรื่องร่าว ปรากฏการณ์นับหมื่นนับแสนของความเข้าใจ บางเรื่องซับซ้อนกว่าเรื่องอื่นที่เราสร้างความเข้าใจผ่านทางการสะท้อนความคิดจากการปฏิสัมพันธ์กับวัตถึงสิ่งของและความคิด
      เราแต่ละคนทำความเข้าใจโลกของเราโดยการสังเคราะห์ประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมที่เข้าใจ บ่อยครั้งที่เราประสบกับวัตถุสิ่งของ ความคิด ความสัมพันธ์หรือประสบการณ์ที่ไม่ช่วยทำให้เราเข้าใจ เมื่อเราประสบกับข้อมูล หรือการรับรู้ที่แตกต่างไปจากเดิมในตอนแรก เราตีความสิ่งที่เราเห็นเพื่อ่แปลงเปลี่ยนไปยังชุดของหลักยึดในปัจจุบันเพื่ออธิบายและจัดลำดับโลกที่เกี่ยวข้อง  หรือเราสร้างชุดของกฏใหม่ที่ดีกว่าสำหรับอธิบายสิ่งเรารับเข้ามา ดังที่ปรากฏ ไม่ว่าทางใดการรับรู้ของเราและหลักยึดจะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะปรับความเข้าใจของเรา

      พิจารณาตัวอย่าง สำหรับนักเรียนที่มีประสบการณ์การอาบน้ำในอ่างอาบน้ำ และสระว่ายน้ำ  เมื่อนักเรียนคนนี้มีโอกาสไปเจอคลื่นทะเล เมื่อใด้ลองชิมรสน้ำทะเลแตกต่างไปจากรสชาติของน้ำจากประสบการณ์เดิม นักเรียนประสบกับประสบการณ์เรื่องน้ำที่แตกต่างกันที่ไม่ได้ปรับไปยังความเข้าใจที่มีอยู่เดิม นักเรียนจำต้องสร้างความเข้าใจที่แตกตางของน้ำอย่างกระตือรือร้นเพื่อปรับประสบการณ์ใหม่  หรือว่าจะไม่สนใจสารสนเทศที่ได้รับใหม่ และยังคงมีความเข้าใจอยู่แบบเดิม ในเรื่องนี้ตามการศึกษาของเปียอาเจ (Piaget) และอินเฮลเดอร์(Inhelder) (1971) เกิดขึ้นเพราะความรู้ไม่ได้มาจากวัตถุ และความคิดความรู้สึก แต่มาจากการเป็นหนึ่งเดียวของทั้งสองอย่างดังกล่าว  ในสถานะการณ์นี้การปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับน้ำ และนักเรียนได้สะท้อนความคิดจากการปฏิสัมพันธ์เหล่านั้นเป็นไปได้มากที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในแนวทางที่นักเรียนคิดเกี่ยวกับน้ำ   ฟอสนอส(Fosnot) ได้พูดถึงว่า "การเรียนรู้ไม่ใช่การค้นพบมากขึ้น แต่เป็นการตีความผ่านทางแบบแผนโครงสร้างที่แตกต่าง
      การเป็นมนุษย์ เรามีประสบการณ์ต่างๆของโลก เช่นที่ชายหาด ด้วยช่วงเวลาการพัฒนาการที่แตกต่าง และดังนั้นจึงทำให้สามารถสร้างความเข้าใจที่ซับซ้อนได้มากขึ้น  เด็กนักเรียนตามที่ยกตัวอย่างมาก็รู้ได้ว่าน้ำรสชาตไม่ดีนัก แต่เมื่อนักเรียนคนนี้โตขึ้น นักเรียนจะทราบว่ามีรสชาดเค็ม เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่นก็เข้าใจถึงมโนทัศน์ของความเค็ม  และบางช่วงของการพัฒนาการ นักเรียนคนเดิมนี้อาจตรวจสอบว่าสารละลายเกลือสามารถนำไฟฟ้า  หรือกำลังของน้ำขึ้นน้ำลงสามารถนำมาเป็นแหล่งพลังงานที่นำมาใช้ได้ แต่ละอย่างของความเข้าใจเหล่านี้ ส่งผลในการเพิ่มความซับซ้อนในการคิดของนักเรียน  ในแต่ละการสร้างความเข้าใจจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางสติปัญญาในการคิดที่จะปรับข้อมูลและการรับรู้ที่แตกต่างและเป็นทุนของประสบการณ์ในเวลานั้น

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ความสำคัญกระบวนการเรียนรู้

       จากแนวการจัดการศึกษาของประเทศที่รวมศูนย์จากส่วนกลาง จากสภา กระทาวง จังหวัด และโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของประเทศ ต่างก็ได้มีรายงานเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆของการศึกษาของชาติ บ้างระบุชี้ให้เห็นปัญหา บ้างก็ตำหนิ ประนามผู้ที่มีส่วนก่อให้เกิดปัญหาที่แก้ไม่ตกมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักจะยกประเด็นปัญหาถึงความไร้ความสามารถของนักเรียนไทย ที่แสดงผลการปฏบัติทางการเรียนจากการทดสอบ และยังมีความยากลำบาก และยุ่งยากจากเงื่อนไขทางการศึกษาของชาติที่ไร้ประสิทธิภาพด้วยเหตุผลต่างๆกัน  นักการศึกษาจำนวนมากได้ยกประเด็นคำถามเกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความหมาย และบทบาทของโรงเรียนที่จะส่งเสริมหรือยับยั้งการค้นหาความเข้าใจ ที่มีความสำคัญมากกว่าคำถามที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนทดสอบ

     มีข้อเสนอมากมายที่พยามนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ของนักเรียนในการสร้างความหมายจากการเรียน ข้อเสนอเหล่านี้มีทั้งการปรับปรุงการประเมินผลใหม่ในทางปฏิบัติ เพื่อทำให้อยู่ในประเด็นการเรียนรู้ของนักเรียน ตั้งทีมฐานการจัดการในโรงเรียน คิดใหม่กับสมรรถนะและ ประสิทธิภาพ ตามรอยการเรียนรู้ ความสามารถของกลุ่ม และการให้อิสระโรงเรียนในระดับตำบลจากการบังคับควบคุมจาก ส่วนกลาง และจังหวัด เราคงจะชื่นชมกับความพยายามเหล่านี้ แต่ก็พบว่าข้อเสนอเหล่านั้นก็ไปไม่ถึงไหน  เพราะไม่ได้พูดกันอย่างตรงไปตรงมาเปิดเผยเกี่ยวกับระบบการศึกษาภายใต้การยอมรับกันว่าเป็นเช่นนั้น เกี่ยวกับความหมายที่จะเรียนรู้ เกี่ยวกับความหมายถึงอะไรสำหรับผู้ได้รับการศึกษาหรือมีการศึกษา  กระบวนการสอนและการเรียนรู้ เกิดขึ้นทุกวันอย่างไม่สิ้นสุดในห้องเรียนทั่วประเทศ  การปฏิรูปการศึกษาต้องเริ่มจากการที่นักเรียนเรียนรู้อย่างไร และครูสอนอย่างไร ไม่ใช่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่บ่งกำหนดอย่างเป็นทางการ นอกเหนือสิ่งอื่นใด การสร้างความเข้าใจคือองค์ประกอบหลักในกระบวนการที่ซับซ้อนมาก ภายใต้ข้อเสนอที่ดูเหมือนว่าง่ายๆ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

The Case for Constructivist Classrooms .. In search of Understanding

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ The Case for Constructivist Classroomsผลการค้นหารูปภาพสำหรับ The Case for Constructivist Classrooms
เป็นหนังสือที่ให้ความกระจ่างในการนำแนวทางปรัชญา constructivism มาใช้ กับชั้นเรียน ได้อย่างน่าสนใจ จะเห็นว่าที่พิมพ์เผยแพร่ ใช้ชื่อว่า the case for constructivist classroom  และมีการพิมพ์เผยแพร่บางครั้งก็ให้ชื่อว่า in Search of Understanding ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สุดที่พยามให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

ความหมายอีบุค

อาจจะให้ความหมายได้ 2 นัยะ อย่างแรกอาจจะเรียกเป็นหนังสือได้ก็คือเอกสารต่างๆ รวมทั้งหนังสือที่แปลงเป็นไฟล์อิเลคทรอนิกส์หรืออยู่ในรูปของดิจิทัล อีกนัยะหนึ่งนั้นรูปแบบเหมือนกับหนังสือจริงที่วางขายอยู่ทั่วไป มีหน้าปกคำนำสารบัญ สำนักพิมพ์ แต่อยู่ในรูปของดิจิทัลที่เรียกว่าไฟล์ดิจิทัลนั่นเอง ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของไฟล์อิเลคทรอนิกส์ ซึ่งก็มีการคิดกันหลายรูปแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เปิดอ่าน ในแต่ละรูปแบบ 
      รูปแบบหรือformat หนังสือที่นิยมกันมากได้แก่ pdf ถือว่ายอดนิยม รองลงมาน่าจะเป็น epub   รูปแบบอื่นๆ เช่น cbr , djvi,  เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ต่อมไร้ท่อ


คู่มือครู วิทยาศาสตร์ 5,6 มัธยมศึกษาปีที่ 3


การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี

การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ระบบสืบพันธ์เพศหญิง


ระบบสืบพันธ์ของมนุษย์ (ชาย)


ระบบหมุนเวียนโลหิต


ฟิสิกส์นิวเคลียร์


ธาตุและสารประกอบ


กัมมันตภาพรังสี


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรังสี


ฟิสิกส์นิวเคลียร์


ธาตุกัมมันตรังสี


ธาตุและสารประกอบ


วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การคิดแบบองค์รวม




ภาษาอังกฤษจากปกหนังสือ

The Cook's Herb Garden : สวนสมุนไพรของคนทำอาหาร
Grow . Harvest . Cook  : เพาะปลูก . เก็บเกี่ยว . ปรุง ทำอาหาร

ประกาศ

เว็บบล็อกนี้เผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ ความรู้ทางการศึกษาด้านต่างๆ ในรูปของสื่อดิจิทัล ที่อาจเป็นหนังสือสิ่งพิมพ์ สื่อเรียนรู้มัลติมีเดีย โดยเลือกมาจากแหน่งต่างๆ ที่เผยแพร่ รวมทั้งที่จัดทำขึ้นเองและจากผู้ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา คลิกที่ภาพหรือลิงค์ ในภาพที่ลงไว้ในแต่ละบล็อกก็สามารถเข้าสู่เนื้อหาหรือเรียนรู้ได้